ซิลิโคนแตก ซิลิโคนพลิก! ดราม่าหนักอกที่ไม่มีใครบอกก่อนขึ้นเขียง เสริมหน้าอกแล้วหน้าอกไม่เท่ากัน หน้าอกเบี้ยว หน้าอกยุบ หรืออยู่ดี ๆ ก็รู้สึกแข็งเป็นก้อน… อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก! เพราะบางคนเจอ “ซิลิโคนพลิก” แบบไม่รู้ตัว บางเคสหนักกว่านั้นคือ “ซิลิโคนแตก” แบบเงียบ ๆ ไม่เจ็บไม่ปวด แต่พอรู้ตัวอีกทีคือรั่วซึมจนต้องผ่าใหม่ให้ไว ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะดวงไม่ดี แต่มักเกิดจากการเลือกผิดตั้งแต่แรก ตั้งแต่ซิลิโคนที่ใช้ เทคนิคผ่าตัด ไปจนถึงการดูแลหลังทำแบบผิดวิธี ใครกำลังวางแผนจะเสริมหน้าอก หรือเพิ่งเสริมมาแล้วรู้สึกไม่โอเค บทความนี้คือคำเตือนก่อนจะเจอดราม่าที่ต้องจ่ายซ้ำแบบไม่จำเป็น
ซิลิโคนแตก VS ซิลิโคนพลิก ต่างกันตรงไหน?
1. ซิลิโคนแตก ภัยเงียบที่บางคนไม่รู้ตัว
“แตก” แค่ได้ยินก็ใจสั่น… และใช่ค่ะ มันแตกได้จริง ซิลิโคนแตกคือเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะมันคือการที่เปลือกซิลิโคนฉีกขาด หรือเกิดรอยรั่วเล็ก ๆ จนเจลด้านในไหลออกมาแทรกไปในเนื้อเยื่อโดยรอบ ซึ่งฟังแล้วอาจรู้สึกว่า “ก็เจ็บสิ?” ขอตอบเลยว่าไม่ค่ะ บางเคส แตกเงียบ แบบเงียบกริบ ไม่เจ็บ ไม่แดง ไม่บวม หน้าอกยังดูโอเค จนกว่าจะรู้ตัวว่าซิลิโคน “รั่วมาตลอด” และต้องรีบเอาออกก่อนที่จะอักเสบหนักหรือกลายเป็นพังผืด
สาเหตุที่พบบ่อย
- เลือกใช้ ซิลิโคนคุณภาพต่ำ
- ศัลยแพทย์วางซิลิโคน ผิดตำแหน่ง
- เจอแรง กระแทกรุนแรง หรืออุบัติเหตุ
- ซิลิโคนหมดอายุ หรือเสื่อมสภาพตามเวลา
2. ซิลิโคนพลิก ทรงเบี้ยว หน้าอกเอียง แต่ไม่เจ็บ
“พลิก” ฟังดูเบากว่า “แตก” ใช่มั้ย? แต่เอาเข้าจริง บางคนร้องไห้หนักกว่าอีก เพราะซิลิโคนพลิกไม่เจ็บ ไม่ปวด แต่หน้าอกดูแปลกจนส่องกระจกแล้วน้ำตาซึม ซิลิโคนพลิก คือภาวะที่ซิลิโคนหมุนหรือบิดจากตำแหน่งที่ควรอยู่ โดยเฉพาะในเคสที่ใช้ ซิลิโคนทรงหยดน้ำ ซึ่งมีด้านหน้าแบน ด้านหลังนูน ถ้าวางพลิก ด้านนูนที่ควรหันออกจะหันเข้าหาตัวแทน กลายเป็นหน้าอกดูแบน หรือยื่นแปลก ๆ แบบไม่เป็นทรง แถมจับแล้วรู้สึกแข็ง ๆ เหมือนมีอะไรผิดที่ผิดทาง ถึงจะไม่เจ็บ แต่ขอบอกเลยว่า โป๊ะมาก โดยเฉพาะเวลาใส่ชุดรัดรูป ชุดว่ายน้ำ หรือแค่ก้มหน้าอกก็เห็นแล้วว่ามันไม่บาลานซ์ ยิ่งถ้าพลิกข้างเดียว หน้าก็มา หน้าอกก็เบี้ยว มั่นใจหายไปทั้งตัว
สาเหตุที่พบบ่อย
- โพรงซิลิโคนใหญ่เกินไป ทำให้ซิลิโคนหมุนได้ในโพรง
- ไม่ใส่ซัพพอร์ตบราหลังผ่าตัด
- กล้ามเนื้อหน้าอกไม่แข็งแรง
ทางรอดของคนไม่อยากเจอดราม่า
- เลือกซิลิโคนคุณภาพสูง โครงสร้างแน่น ไม่เปราะแตกง่าย ทนแรงกด ใช้งานได้นานโดยไม่ต้องลุ้นว่าจะพังเมื่อไหร่
- เลือกศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหน้าอก ไม่ใช่แค่หมอศัลยกรรมทั่วไป แต่ต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการวางซิลิโคนโดยเฉพาะ เข้าใจสรีระเฉพาะตัวของแต่ละเคส
- ใส่ใจการดูแลหลังผ่า ใส่ซัพพอร์ตบราตามคำแนะนำ งดนวดแรง ยกของหนัก หรือทำกิจกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ซิลิโคนเคลื่อน
- ตรวจติดตามกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้หน้าอกผิดทรงจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ รู้เร็ว แก้เร็ว จบเร็ว
- เลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน อย่างที่ โรงพยาบาลศัลยกรรม SLC ซึ่งใช้เทคนิคเฉพาะในการวางซิลิโคนเพื่อลดปัญหา ซิลิโคนแตก และยังออกแบบตำแหน่งอย่างแม่นยำ ลดโอกาสการเกิด ซิลิโคนพลิก
ที่สำคัญคือมี ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน Breast Augmentation ดูแลอย่างต่อเนื่องแบบ Personal Case ไม่มีทิ้งกลางทาง ไม่มี “ทำแล้วหาย” เพราะที่นี่เขาเข้าใจทั้งหน้าอก และเข้าใจหัวใจของคนที่อยากมีหน้าอกสวยอย่างมั่นใจด้วยจริง ๆ
บทสรุปคือ…การ เสริมหน้าอก ไม่ได้จบแค่วันผ่าตัด แต่ต้องอยู่กับเราไปอีกนาน และถ้าไม่อยากให้ความสวยกลายเป็นความเครียด อย่ามองแค่ทรงสวยหรือราคาโปรฯ แต่ต้องคิดถึง ความปลอดภัยระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาที่หลายคนเคยเจออย่าง ซิลิโคนแตก หรือ ซิลิโคนพลิก ที่อาจฟังดูเล็ก ๆ แต่พอเกิดขึ้นจริงคือ “เจ็บทั้งใจและกระเป๋า” แบบไม่ขำเลย ซึ่งในปีนี้ เสริมหน้าอก2025 มีตัวเลือกทั้งเทคโนโลยี เทคนิคการผ่าตัด และ ซิลิโคนเสริมหน้าอก ที่พัฒนาไปไกลมากแล้ว แค่เราต้องรู้จักแยกให้ออกว่า ซิลิโคนแตกคืออะไร ซิลิโคนพลิกคืออะไร และควรเลือกแบบไหนที่ลด ปัญหาหลังเสริมหน้าอก ได้จริง ๆ เพราะสุดท้าย…หน้าอกที่ดีไม่ใช่แค่สวยวันแรก แต่ต้อง “สวยและอยู่กับเราได้ทุกวันอย่างมั่นใจ” แบบไม่ต้องมานั่งลุ้นว่าจะ “พลิก” หรือ “พัง” เมื่อไหร่